ปลดล็อก-ปลด “อภิสิทธิ์ ” ปชป.ถึงคราวจัดทัพ หวังร่วมรัฐบาล

44

ในที่สุดห้วงเวลาปลดล็อกการเมือง ก็เดินทางมาถึง หลังจากบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ออกมาเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง อ้างว่า ต้องการเวลา เพื่อจัดทัพเข้าสู่สนามเลือกตั้ง ซึ่งอย่างช้าไม่น่าจะเกินเดือนพฤษภาคมปี 62

มือกฎหมายรัฐบาล “นายวิษณุ เครืองาม ”รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าปลดล็อกพรรคการเมืองว่า ต้องรอให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และพ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. ได้รับการโปรดเกล้าฯลงมาก่อน จึงจะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพรรคการเมืองต่างๆ

เพื่อเตรียมการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง โดยไม่ต้องรอคำสั่งมาตรา 44 เพื่อคลายล็อกพรรคการเมือง แต่จะดีมาก หากกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วมีคำสั่งคลายล็อก จากนั้นจึงมีการประชุมกับพรรคการเมือง ทั้งนี้ไม่ทราบว่า จะประชุมในเดือนกันยายนนี้หรือไม่ แต่เร็วเท่าไหร่ได้ยิ่งดี

เมื่อมีความชัดเจนเกิดขึ้น บรรดาคอการเมือง ต่างก็คาดเดาถึงความเป็นไป ที่จะเกิดขึ้นกับสองพรรคการเมืองใหญ่ ทั้ง “ เพื่อไทย ( พท. )และประชาธิปัตย์ ( ปชป. )ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลง และจัดทัพรับเลือกตั้งในรูปแบบไหน ในส่วนของพท. ก็คงเป็นไปอย่างที่หลายคนคาดเดา คือรอการชี้นิ้วสั่งจาก “นายทักษิณ ชินวัตร ” อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ( ทรท. )
ขณะที่ปชป. ที่ดูเหมือนจะมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า กำลังถูกจับตามองโดยเฉพาะ บทบาท “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในฐานะหัวหน้าพรรค จะสามารถยีดตำแหน่งผู้นำไว้ได้ จนถึงการเลือกตั้งหรือไม่ เนื่องจากมีกระแสข่าวเป็นระยะๆว่า มีสมาชิกพรรคบางส่วน ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรค

อย่าลืมว่า แม้ “นายสุเทท เทือกสุบรรณ “ แกนนำกปปส. จะลาจากตำแหน่งเลขาธิการปชป. และไปรวมก่อตั้งพรรคร่วมพลังประชาชาติไทย ( รปช. ) แต่ก็ยังมีบทบาท ในการชี้นำความเห็นของสมาชิกพรรคจำนวนไม่ใช้น้อย โดยเฉพาะที่เคยร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมในนามกปปส. ซึ่งมีข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทำนองว่า สมาชิกพรรคกลุ่มนี้ ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้นำปชป. คือ

1. ชื่อชั้นนายอภิสิทธิ์ขายไม่ได้ เพราะนำพาพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้วถึง 2 ครั้ง ยิ่งโพลบางสำนักระบุด้วยซ้ำว่า ชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองเก่าแก่ ตกมาอยู่ลำดับสาม

2 . แกนนำคสช. และพรรคการเมือง ไม่ต้องการร่วมงานทางการเมืองด้วย และไม่ต้องการสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เพราะรู้สึกเข็ดหลาบ หลังจากเคยร่วมงานทางการเมือง ในช่วงหน้าพรรคปชป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 51-53

3 . นายอภิสิทธิ์ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เชื่อมั่นในตนเองสูงไป โดยเฉพาะการตัดสินใขยุบสภาฯ ในช่วงปี 53 ทั้งที่การพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และ ผบ.เหล่าทัพยังไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ กับการการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ที่ทำให้บุคคลสำคัญ ไม่พอใจนายอภิสิทธิ์เป็นอย่างมาก

แม้ “นายจุติ ไกรฤกษ์ ” เลขาธิการปชป. จะออกมาชี้แจงถึงกระแสข่าวลือ โดยอ้างว่า ต้องการสร้างความแตกแยกในพรรคฯ ว่า ขอยืนยันว่าปชป. เป็นหนึ่งเดียว ยึดมั่นอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย และยอมรับว่านายอภิสิทธิ์ ได้มีแนวคิดเสนอเปิดข้อบังคับพรรคใหม่ ให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคให้คนนอกและบุคคลทั่วไป สามารถเสนอตัวลงสมัครตำแหน่งหัวหน้าปชป.ได้ และสมาชิกพรรคสามารถโหวตหยั่งเสียงหัวหน้าพรรคได้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและการปฏิรูปการเมือง

นายจุติ ยังบอกออีกว่า กล่าวต่อว่า ในฐานะเลขาธิการปชป. คนปัจจุบัน ขอยืนยันว่า จะสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ แข่งขันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคปชป.ต่อไป หลังการปลดล็อกทางการเมือง เพราะผลงานและความใส่ใจของนายอภิสิทธิ์ในการพบปะรับฟังปัญหาประชาชนทั่วประเทศตลอดเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเป็นผู้ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ที่มีผลกระทบต่อการบริหารราชการ และการอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้ดีที่สุดคนหนึ่ง

แต่สำนวนที่ว่า ถ้าไม่มีไฟ ที่ไหนจะมีควัน ดูเหมือนจะใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย จากนี้ไปต้องจับตาดูว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคการเมืองเก่าแก่หรือไม่ ยิ่งระยะหลังนายอภิสิทธิ์ มีท่าที่แข็งกร้าว ออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีแกนนำ คสช. และรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นที่ว่า กระโดดลงมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่น แทนที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการ เพราะอาจทำมห้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม

บางทีหัวหน้าพรรคปชป. อาจรับรู้ว่า ตนเองไม่ได้เป็นเป้าหมายที่ถูกเลือก เลยแสดงอาการตีรวน จนอาจทำให้เก้าอี้สระธานสภาผู้แทนราฎร ที่จะได้เป็นเครื่องปลอดใจ ก็อาจหลุดลอยไปด้วย ยิ่งถ้า “พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา “ กลับมาดำรงตำแหน่างนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพราะหวาดระแวงว่า จะถูกแก้แค้นในภายหลัง

“เมืองสมุทร”