แนะ รบ.ควรหันมองแล้วนำไปแก้ไข ไม่ตั้งแง่ปฏิเสธ “ประเทศกูมี”

187

ยกปรากฎการณ์เพลงประเทศกูมี พูดความจริง แนะ รบ.ควรหันมองแล้วนำไปแก้ไขไม่ใช่ตั้งแง่ปฏิเสธ พร้อมมองโฆษกรบ.โต้ได้อนุบาลมาก ออกตัวเป็นการเมืองเกินไป

ผศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเดียว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา กล่าวถึงปรากฎการณ์เพลงประเทศกูมีว่า เป็นเพลงที่พูดในความจริง และเป็นความจริงที่เกิดขึ้นมานานแล้วไม่ใช่เฉพาะในรัฐบาลชุดนี้ แต่สังคมไทยมีความเปราะบางและความอ่อนไหวมากในการจัดการและอยู่กับความจริงนี้ ในเมื่อเราไม่สามารถจัดการความจริงได้เราจึงสร้างสังคมเชิงอุดมคติแต่กดทับไว้ด้วยปัญหาจำนวนมาก แล้วก็ฝากความหวังไว้กับผู้นำที่เป็นฮีโร่ที่จะมาแก้ไขปัญหาสังคมอุดมคติที่เราสร้างขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์เพลงนี้มันทำให้เห็นรอยปีกแยกของปัญหาที่หมกมุ่นในสังคมไทยในรอบ 50ปี ทำให้ไม่สามารถเก็บความจริงได้อีกต่อไป

ประเด็นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับรัฐบาลชุดนี้ แต่มันเป็นปัญหาที่หมกมุ่น และพบว่านักการเมืองหลายคนก็เคยปกปิดความจริงชุดนี้ และเคยใช้ความจริงชุดนนี้มาทำลายล้างกัน และในขณะที่ตัวเองมาจากระบอบประชาธิปไตยก็ไม่เคยคลี่คลายความจริงนี้ แต่พอตัวเองไม่มีอำนาจก็ใช้ความจริงนี้มาทิ่มแทงฝ่ายตรงข้าม เราไม่เคยจัดการความจริงเพื่อแก้ไขปัญหาความจริงให้หยุดความจริง แต่เรากลับใช้ความจริงเพื่อทิ่มแทงฝ่ายตรงข้าม ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งอย่างหนัก และกำลังไปสู่สภาวะสังคมที่กำลังจะแตกแยกบนความเห็นต่าง ซึ่งมันอาจจะมีแนวโน้มที่จะไปกระทบกับการสถารการณ์การเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ ทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งมีความตรึงเครียดเพิ่งขึ้น

อีกทั้ง ท่าทีการออกมาตอบโต้ของรัฐบาลผ่านโฆษกรัฐบาลที่มองแล้วเป็นการตอบโต้อย่างอนุบาลและไร้เดียงสา เป็นการตอบโต้ที่ดูเป็นการเมืองมากจนเกินไป จึงเป็นการส่งผลลบกับรัฐบาลได้ และยิ่งการใช้อำนาจของรัฐบาลกับฝ่ายความมั่นคงที่ใช้ตำรวจไปคุกคามกดดันใช้ข้อกฎหมายกับคนทำเพลง ส่วนเบื้องหลังเพลงนี้นั้นจะเป็นอย่างไรเราสามารถตั้งข้อสังเกตุได้ แต่จะไปพูดว่ากลุ่มทำเพลงนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองไหนนั้นพูดไม่ได้ เพราะยังไม่มีหลักฐาน

อย่างไรก็ตาม สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย เราอยู่ร่วมกัน เราไม่สามารถไปทำให้ใครคล้อยตามได้ แต่รัฐต้องยอมรับความหลากหลายทางความคิด ควรกลับไปดูในสิ่งที่เขาพูดนั้นมันจริงมากน้อยแค่ไหนแวเอามาปรับแก้ไข ไม่ใช่ไปปฏิเสธสิ่งนั้น